ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump System)
Fire Pump System เป็นระบบที่มีความจำเป็นต่อสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยจากอัคคีภัย อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า ชุมชน โรงงาน อาคารสูง และหน่วยงานราชการต่างๆ เป็นระบบปั๊มน้ำดับเพลิงที่มีให้เลือกเหมาะกับงานหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ และการควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบ MANUAL และ AUTOMATIC
การแบ่งประเภทเครื่องสูบน้ำดับเพลิงตามการติดตั้งจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ แบบนอน (Horizontal) และแบบตั้ง (Vertical) ซึ่งการเลือกลักษณะตามการติดตั้งนั้น จะต้องคำนึงถึงระดับน้ำเริ่มต้นที่ใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงดูดและจ่ายออกไปยังระบบท่อดับเพลิง ส่วนประเภทของระบบต้นกำลังของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงมี 2 ประเภท คือ แบบเครื่องยนต์ดีเซลและแบบมอเตอร์ไฟฟ้า โดยระบบทั้งสองประเภทสามารถใช้กับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทั้งแบบนอนและตั้ง รูปร่างของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทั้งสองแบบจะมีลักษณะตามรูปข้างล่างนี้
ภาพที่ 1 เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบตั้งและแบบนอน
ขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง สำหรับขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ตามมาตรฐานสากลนั้น มีการกำหนดขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการเลือกใช้จะต้องเลือกให้อยู่ในขนาดที่ระบุไว้ตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที) |
||
1. 95 (25) | 8. 1,514 (400) | 15. 7,570 (2,000) |
2. 189 (50) | 9. 1,703 (450) | 16. 9,462 (2,500) |
3. 379 (100) | 10. 1,892 (500) | 17. 11,355 (3,000) |
4. 568 (150) | 11. 2,839 (750) | 18. 13,247 (3,500) |
5. 757 (200) | 12. 3,785 (1,000) | 19. 15,140 (4,000) |
6. 946 (250) | 13. 4,731 (1,250) | 20. 17,032 (4,500) |
7.1,136 (300) | 14. 5,677 (1,500) | 21. 18,925 (5,000) |
ที่มา: NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection (2003)
การเลือกประเภทเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
ในการเลือกเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบนอนนั้น ระดับของแหล่งน้ำดับเพลิงจะต้องมีระดับสูงกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบนอนนี้จะมีหลายลักษณะ เช่น แบบหอยโข่ง เป็นต้น
ภาพที่ 2 การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบนอน
ภาพที่ 3 เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบหอยโข่ง
ภาพที่ 4 การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบตั้ง
ที่มา: NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection (2003)
ในกรณีที่แหล่งน้ำดับเพลิงมีระดับน้ำต่ำกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องทำการเลือกเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นแบบตั้ง (Vertical Type) เท่านั้น โดยการออกแบบและติดตั้งจะต้องมีการจัดสร้างตะแกรงกันขยะ หรือเศษสิ่งของต่างๆ ที่จะเข้ามาในบ่อน้ำที่ใช้สำหรับการดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง รวมทั้งการติดตั้งตัวกรอง (Strainer) ไว้ที่ปลายของท่อดูดเสมอเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันในระบบ (Jocky Pump) โดยปกติเป็นเครื่องสูบน้ำที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง หน้าที่ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันนี้ คือการเติมน้ำทดแทนน้ำส่วนที่อาจมีการรั่วซึมออกไปจากระบบท่อน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อแรงดันภายในระบบท่อน้ำดับเพลิงลดลงจากระดับที่กำหนดไว้ และเมื่อมีการเติมน้ำอยู่ในระดับปกติแล้ว เครื่องสูบน้ำนี้จะหยุดเองโดยอัตโนมัติเช่นกันห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีเส้นทางการเข้าออกที่ปลอดภัยและสามารถเข้าได้โดยสะดวกตลอดเวลา ตำแหน่งของห้องควรจะอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดีและไม่มีน้ำท่วมขัง ผนังห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
อุปกรณ์ประกอบระบบ
อุปกรณ์ประกอบของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบและผลิตเพื่อใช้กับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเท่านั้น โดยอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการรับรองการทดสอบตามมาตรฐานสากลเท่านั้น อุปกรณ์หลักของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ
1 อุปกรณ์ระบายลมอัตโนมัติสำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยมีขนาดไม่น้อยกว่า12.7 มิลลิเมตร
2 วาล์วลดแรงดัน (Pressure Relief Valve) เพื่อป้องกันแรงดันเกินที่ด้านส่ง (Discharge) ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
3 มาตรวัดแรงดัน จะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของมาตรวัดไม่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตร (3 ½ นิ้ว) พร้อมวาล์วปิดเปิดขนาด 6.25 มิลลิเมตร (1/4 นิ้ว)
4 วาล์วปิด-เปิด จะต้องเป็นวาล์วที่สามารถเห็นการปิด-เปิดได้ด้วยตาเปล่า เช่นวาล์ว OS&Y วาล์วปีกผีเสื้อ เป็นต้น
5 มาตรวัดอัตราการไหลของน้ำดับเพลิง เพื่อใช้ในการตรวจสอบและทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
6 ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จะต้องมีอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในการควบคุมสั่งงานเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและจะต้องถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับการควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump System) ดังที่ได้กล่าวมาขั้นต้น เมื่อแหล่งชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสูง และหน่วยงานราชการต่างๆ หากเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยขึ้นมาจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ไฟและควันไฟลุกลามออกไปยังพื้นที่หรือห้องใกล้เคียงทำให้ไฟอยู่ภายในพื้นที่ที่จำกัดและเมื่อเชื้อเพลิงที่อยู่ภายในพื้นที่นั้นหมดลงไฟก็จะดับ สามารถลดความสูญเสียที่จะเกิดจากเหตุการณ์เลวร้ายทางด้านอัคคีภัยได้อย่างมากเลยทีเดียว
อ้างอิง
[1] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[2] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 25 Standard for the Inspection, Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts. 180
[3] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 2003 Standard for the Inspection,Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[4] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[5] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 101 Life Safety Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[6] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 5000 Building Construction and Safety Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[7] National Fire Protection Association. 2004. NFPA 2001 Standard on Clean Agent Fire Extinguishing Systems 2004 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[8] National Fire Protection Association. 2005. NFPA 70 National Electrical Code 2005 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.
[9] McGrattan, K. and G. Forney. 2004. Fire Dynamics Simulator (Version 4) User's Guide. National Institute of Standards and Technology, Gaithersburg, MD.
[10] Trevits, M.A., Yuan, L., Smith, A.C., Thimons, E.D., Goodman, G.V. 2009. The Statusof Mine Fire Research in the United States. National Institute for Occupational Safety and Health, Pittsburgh Research Laboratory, Pittsburgh, PA.
[11] George W. AMholland . Smoke Production and Properties. SFPE Handbook of Fire Protection Engineering SFPE Handbook of Fire Protection Engineering, 2nd Edition, Chapter 15, Section 2, 217-227
[12] Nida center for Research & Development of Disater Prevention and Management
Desiel Fire Pump Engine ( NFPA20)
Desiel Fire Pump Engine (END SUCTION CENTRIFUGAL PUMPS TYPE )
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงใช้สำหรับงานระบบดับเพลิง( FIRE PROTECTION SYSTEM)
ขับด้วยเครื่องยนต์มาตรฐาน NFPA20 แรงดันน้ำตั้งแต่ 250-1000 GPM เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสูงทั่งไป
Desiel and Electrical Fire Pump Engine ( NFPA20 and UL/FM )
Horizontal Split Case pump type and Vertical Turbine type
Horizontal Electric
Horizontal Diesel
Vertical Turbine
Desiel and Electrical Fire Pump Engine (SPLIT-CASE CENTRIFUGAL PUMPS TYPE)
เครื่องสูงน้ำดับเพลิงสำหรับงานระบบดับเพลิงขับด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์มาตรฐาน NFPA20 หรือ UL/FM
อัตราการไหลตั้งแต่ 500-3000 GPM เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และงานอาคารสูงทั่งไป